ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ Mathematic Experiences Management for Early Childhood For Early Childhood

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โทรทัศน์ครู


สรุปโทรทัศน์ครู



การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยด้วยนิทาน

จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การที่จะทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ เราต้องปรับคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องง่าย โดยมีเทคนิคที่ดีในการนำคณิตศาสตร์มาสอนโดยผ่านนิทานได้เพราะธรรมชาติของเด็กชอบฟังนิทานอยู่แล้ว ก็จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์ที่ว่ายากกลายเป็นเรื่องง่ายได้
ถ้านำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กจะทำให้เด็กสนุกสนาน "ในโทรทัศน์ครูเขาได้ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิคการเล่านิทาน ให้เด็กได้เปรียบเทียบของสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน ได้นำนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว มาใช้ในการสอน  มีลูกหมูตัวใหญ่ ตัวกลาง ตัวเล็ก   โดยให้เด็กได้วิเคราะห์ว่าได้อะไรจากนิทานเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น ขนาดของลูกหมู คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น หนักกว่า เล็กกว่า    ใหญ่กว่า สูงกว่า "...........




บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




สรุปบทความ


สรุปบทความ
ชื่อบทความ สอนคณิตอย่างไรให้ลูกสนุก
โดย   วรารัตน์   สิริจิตราภรณ์  โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความสรุปได้ว่า
คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยอาจจะดูยากแต่เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนานและไม่เครียดไปกับมัน คือ จัดประสบการณ์เสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย หรือบางครั้งเราอาจใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก ตัวต่อ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ จำนวนนับ รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงานของกลุ่มตนเองโดยวิธีวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูจะต้องให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนปรบมือให้กำลังใจ แค่นี้ก็ทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างสนุกแล้วค่ะ






งานวิจัย



สรุปงานวิจัย


ชื่อวิจัย 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ผู้ทำวิจัย 
 คมขวัญ  อ่อนบึงพร้าว

ความมุ่งหมายในการวิจัย   
 เพื่อเปรียนเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เพื่การรียนรู้

กลุ่มตัวอย่าง  
นักเรียนระดับปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร 

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
  2.1 การบอกตำแหน่ง
  2.2 การจำแนก
  2.3 การนับปากเปล่า 1-30
  2.4 การรู้ค่าจำนวน   1-20
  2.5 การเพิ่ม ลด ภายในจำนวน 1-10

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวม 5 ทักษะ อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น และมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่า ก่อนการทดลอง










วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่5



อาจารย์ยกตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาศตร์ที่บูรณาการกับการเรียนการสอน

                                                           เรื่องนาฬิกา


เรื่องปฏิทิน



กิจกรรมในวันนี้^^
ก่อนจะสอนเด็กทำอะไรยากๆควรให้เด็กได้เรียนรู้หรือได้เล่นกับสิ่งนั้นก่อน อาจารย์จึงยกตัวอย่างกิจกรรมปั้นดินน้ำมันมาให้เราทำกิจกรรมร่วมกัน





มาร้องเพลงกันเถอะ!!




ประเมินผล

ประเมินตนเอง  วันนี้รู้สึกเพลียมาก แต่เมื่ออาจารย์ให้ทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ก็รู้สึกสนุกสนาน และตั้งใจทำกิจกรรมและร่วมตอบคำถามกับอาจารย์

ประเมินเพื่อน   วันนี้เพื่อนร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์อย่างตั้งใจ และช่วยกันคิดวิธีปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆ

ประเมินอาจารย์   วันนี้อาจารย์มีการนำสื่อมาสาธิตให้นักศึกษาดู และให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์โดยสอดแทรกความรู้ลงในกิจกรรมที่จัดให้