ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ Mathematic Experiences Management for Early Childhood For Early Childhood

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่14





วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอแผ่นพับเกี่ยวกับความรู้สู่ผู้ปกครอง
มีทั้งหมด4 กลุ่มคือ.......
-กุ๊กไก่หลายชนิด
-ส่วนประกอบของไก่กับคณิตศาสตร์
-เรียนรู้ประโยชน์และโทษของไก่
-ขนาดของไก่กับคณิตศาสตร์
ซึ่งมีดังนี้...........................................................................













ข้อเสนอแนะของกลุ่มดิฉันคือ  สาระทางคณิตศาสตร์ควรเขียนมาเฉพาะสาระที่เราต้องการจะให้ความรู้โดยตรง เช่น สาระการวัด สาระพีชคณิต









ขั้นตอนการทำสื่อ


วัสดุอุปกรณ์

-กระดาษลัง
-ที่หนีบ
-ภาพสัตว์
-ฟิวเจอร์บอร์ด
-แลคซีน
-กาว
- กระดาษสติกเกอร์
  

ขั้นตอนการทำสื่อ

-ตัดกระลังให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก บล็อกละ 6 ด้าน แล้วนำมาติดกาวประกบกัน ให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีทั้งหมด 6 ด้าน  ทัั้งหมดมี4 ก้อน

- เรียงบล็อก4อันแล้วนำภาพสัตว์มาติดแต่ละด้านให้ครบ แล้วติดกระดาษสติกเกอร์ทับทุกด้าน เพื่อความสวยงามและคงทน

- ตัดฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อใช้ทำเป็นแบบฝึกหัด แล้วนำภาพสัตว์มาติดให้สอดคล้องตามบล็อก



ประเมินผล

ตนเอง  ตั้งใจเรียน  เข้าเรียนตรงเวลา  และช่วยเพื่อนระดมความคิดในการทำแผ่นพับ

เพื่อน   วันนี้เพื่อนมาเรียนครบ ตั้งใจเรียน และนำคำแนะนำของจารย์ไปปรับใช้ให้ดีขึ้น

อาจารย์    อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีเพิ่มเติมจากการนำเสนอ เพื่อที่นักศึกษาจะสามารถนำไปปรับแก้ให้สมบูรณ์ และสามารถนำไปใช้ในวันข้างหน้าได้























วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่13




- อาจารย์ให้เขียน my map ในสิ่งที่เราอ่านมาเพื่ิอที่จะสอบ โดยให้เราตั้งหัวข้อเอง
ดิฉันได้เขียน องค์ความรู้เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมี6 สาระ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่5  กระบวนการ
สาระที่6  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


my map ที่ดิฉันทำ

จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำแผ่นพับ ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ปกครองในเรื่องที่เราทำ แล้วเขียนวิธีที่จะสามารถสอดแทรกสาระทางคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสอนบุตรของท่าน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการที่จะทำให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสอนเด็ก  โดยเราทำแผ่นพับเพื่อให้ผู้ปกครองทำความเข้าใจแล้วร่วมสอนเด็กไปพร้อมกับครู  




การประเมินผล

ตนเอง  วันนี้เครียดกับการทำแผ่นพับมาก แต่ก็ยังดีที่อาจารย์ไม่ตำหนิ แต่กลับให้คำแนะนำนักศึกษาอย่างดี

เพื่อน  วันนี้เพื่อนๆดูเครียดกับการทำแผ่นพับมาก เพราะเพื่อนกลัวว่าจะทำผิด

อาจารย์  วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์







วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่12





 วันนี้กลุ่มของดิฉันได้นำเสนองาน ของวันที่2 เรื่องส่วนประกอบของไก่ ดังนี้


นำสู่บทเรียน โดยการถามเด็กๆว่าอยากรู้ไหมว่าข้างในตัวเลขเป็นอะไร โดยให้เด็กเลือกว่าจะเปิดหมายเลขใด  ให้เด็กเลือกเปิดไปเรื่อยๆจนรู้ว่าข้างในเป็นรูปไก่




-นำรูปไก่ที่เห็นส่วนประกอบที่ชัดเจนมาให้เด็กดู แล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆรู้จักส่วนประกอบของไก่ไหมคะ มีอะไรบ้างคะ ให้เด็กๆตอบ แล้วเราก็สอนเพิ่มเติมในสิ่งที่เด็กรู้ไม่หมด

-ให้เด็กนับจำนวนส่วนประกอบของไก่ แล้วให้นำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดกำกับ

-วาดตารางเปรียบเทียบระหว่างแม่ไก่กับลูกเจี๊ยบว่ามีสิ่งไหนที่เหมือนและแตกต่างกัน

- จากนั้นนำมาเขียนเป็นเซต ยูเนี่ยน สิ่งที่เหมือนและต่างกัน



-ครูทบทวนเด็กโดยการถามส่วนประกอบของไก่ว่ามีอะไรบ้าง
แล้วให้เด็กๆต่อภาพจิ๊กซอว์ ไก่ ดังนี้




คำแนะนำจากอาจารย์

ภาพขั้นนำที่จะให้เด็กดูควรมีขนาดใหญ่กว่านี้ เด็กจะได้เห็นชัด
ในการติดตัวเลข ตามีสองตา ไม่ควรใช้เลข2 กำกับ และไม่ควรแยกออกจากกัน  เพราะมันเป็นคู่ ควรจะใช้เลข1 กำกับ แล้วบอกเด็กว่า มีลูกตา 1 คู่




กลุ่มของเพื่อน

คำแนะนำจากอาจารย์

-วิดีโอที่ให้เด็กดูไม่ควรยาวจนเกินไป
- ควรพูดเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิดีโอ





การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมของเพื่อนไปปรับใช้ได้ และสามรถนำคำแนะนำดีๆจากอาจารย์ไปปรับปรุงให้ดีและสมบูรณ์


การประเมินผล

ตนเอง  วันนี้นำเสนองานด้วยความตั้งใจ และรับฟังคำแนะนำที่ดีจากอาจารย์

เพื่อน  วันนี้เพื่อนนำเสนองานได้ดีมาก สามารถจัดกิจกรรมให้เพื่อนทุกคนมีส่วนร่วม

อาจารย์   อาจารย์คอยให้คำแนะนำเพิ่มเติมจากส่วนที่เราต้องปรับปรุง และมีการชมเชยในกิจกรรมที่เราจัดขึ้น






วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่11




วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ 1 มานำเสนอเรื่อง ชนิดของไก่



เพื่อนๆนำเด็กเข้าสู่บทเรียนโดยการร้องเพลง ไก่แจ้ประชันไก่ต๊อก แล้วคุณครูก็ถามเด็กๆว่า
เด็กๆรู้จักไก่อะไรกันบ้าง?
 เด็กอาจจะตอบตามประสบการณ์เดิมที่รู้ เช่น
ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ชน ไก่งวง
 ตอนเด็กๆตอบคุณครูก็เขียนmy map บนกระดานเพื่อต่อยอดความคิดของเด็ก แล้วคุณครูก็ใช้คำถามกับเด็กว่า เพลงที่เราร้องไปเมื่ิอกี้มีไก่กี่ชนิดคะ?  เด็กก็จะเกิดการคิดและเรียบเรียงว่าตอนที่ร้องเพลงมีไก่อะไรบ้าง



จากนั้นคุณครูก็ให้เด็กช่วยนับจำนวนไก่ในเล้าทั้งหมด เด็กก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเลขฐานสิบ
แล้วคุณครูก็ให้เด็กแยกไก่แต่ละชนิด โดยให้เด็กออกมาหยิบไก่ชนิดเดียวกันใส่ในเหล้าเดียวกัน
แล้วนับจำนวนที่เหลือ เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องการเพิ่มลดจำนวน  ครูให้เด็กๆจับคู่ไก่ ถ้าไก่หมดพร้อมกันแสดงว่าไก่มีจำนวนเท่ากัน ดังนี้



ครูและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องชนิดของไก่และร่วมกันร้องเพลงไก่อีกรอบ 


แผนการสอนของกลุ่มที่1 เรื่องชนิดของไก่









การนำไปประยุกต์ใช้

สมารถนำวิธีการจัดกิจกกรมในวันที่หนึ่งของเพื่อนไปปรับใช้ในการนำเสนอครั้งต่อไป และสามรถนำคำแนะนำจากอาจารย์ไปปรับใช้ในการสอนค่ะ




ประเมินผล

ตนเอง  วัันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอการจัดกิจกรรม และร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆๆ

เพื่อน  วันนี้เพื่อนจัดกิจกรรมได้ดีมากค่ะ เพื่อนในห้องส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง

อาจารย์  อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดี และคำชมเชยกลุ่มที่นำเสนอ












วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่10





เนื่องในวันที่16 มกราคม เป็นวันครู พวกเราจึงร่วมกันไหว้อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ซึ่งเป็นครูที่สอนในสิ่งที่ดีกับเรา ให้ความรู้และความรักแก่ศิษย์ทุกคน เป็นผู้มีพระคูณที่หนูรักและเคารพ

-แล้วอาจารย์ก็ให้นำเสนอสื่อที่ตัวเองคิดมา เพื่อที่จะให้คำแนะนำและแก้ไขเพิ่มเติม
                
สื่อของข้าพเจ้า

- อาจารย์ให้เขียนแผนที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน แล้วให้วันที่1ของทุกหน่วยช่วยกันเลือกอันที่ดีที่สุดมานำเสนออาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมในครั้งหน้า
แผนวันที่1 เรื่องชนิดของไก่ อาจารย์ได้บอกวิธีเกี่ยวกับการสอดแทรกสาระทางคณิตศาสตร์ใส่ในเรื่องขชนิดของไก่ เช่นวิธีการจัดกิจกรรมอาจจะทำไม้เสียบลูกชิ้นติดรูปไก่แต่ละชนิด แล้วให้เด็กช่วยกันนับไก่ แยกประเภทของไก่แต่ละชนิด


ประเมินตนเอง  วันนี้ดิฉันตั้งใจทำกิจกรรมและเขียนแผนที่ได้รับมอบหมาย และได้ไหว้อาจารย์เนื่องในวันครู ได้รู้วิธีเขียนแผนและวิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องตามแผน

ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผน และร่วมกันแสดงความเคารพรักต่อครูบาอาจารย์

ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ได้ให้พรนักศึกษา และได้ให้เทคนิคในการเขียนแผนพร้อมทั้งวิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับแผน







วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่9


อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีดังนี้
1. การวัด เกี่ยวกับการได้มาซึ่งจำนวน วัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร ซึ่งกิจกรรมของกลุ่มนี้จะให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมือไม่เป็นทางการเช่น คืบ วา หรือเครื่องมือกึ่งทางการ เช่น เชือกแล้วค่อยๆปรับให้เป็นเครื่องมืที่เป็นทางการเช่น ไม้เมตร สายเมตร
2.  สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น คือการจัดรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิอย่างง่าย กิจกรรมกล่องนมหรรษา โดยให้เด็กเลือกว่าชอบนมชนิดไหน ซึ่งจะมีกล่องนมแต่ละรสให้เด็กได้เลือกแล้วนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นแผนภูมิว่านมชนิดใดที่เด็กชอบกินมากที่สุด
3.เรขาคณิต เช่นรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเด็กไม่ว่าจะเป็นประตู หน้าต่าง กล่องนม เราต้องให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ใกล้ตัวก่อนแล้วจึงเชื่อมโยงเข้าสู่สาระที่เด็กควรจะรู้
4. พีชคณิต ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ในเรื่องของแบบรูป ควรจัดเป็นชุดๆ และมีแพทเทิลมาให้เด็กดูก่อน กลุุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องพีชคณิต

กลุ่มของดิฉัน



-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม โดยแต่ละกลุ่มให้เลือกมาหนึ่งหน่วยแล้วทำเป็น my mapping เพื่อนำเสนอ


กลุ่มของดิฉันได้เรื่องส้ม




กลุ่มของเพื่อน เรื่องไข่


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนและบูรณาการสาระทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ค่ะ


การประเมินผล

ตนเอง  วันนี้สนุกสนานกับการเรียนมาก ได้นำเสนองาน และระดมความคิดภายในกลุ่ม

เพื่อน  วันนี้เพื่อนๆออกมานำเสนอได้ดีมาก และเพื่อนช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่มจนผลงานออกมาดีค่ะ

อาจารย์  วันนี้อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษาระดมความคิด ให้นำเสนอ เพื่อที่จะให้เป็นคนกล้าแสดงออก



วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่8




-วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




-อาจารย์ให้ดูผลงานของเด็กอนุบาลที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ซึ่่่งส่วนมากผลงานของเด็กทำจากวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ


อาจารย์ได้สอนวิธีบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1. คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ   เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวพร้อมการนับจำนวน รูปทรงต่างๆ ทิศทางในการเคลื่อนไหว บน ล่าง ซ้าย ขวา  เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวและสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบการเคลื่อนไหว
2. คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง และการออกแบบรูปทรงต่างๆ การออกแบบตกแต่งของเด็กจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม เช่นครูอาจจะวาดแค่รูปวงกลมให้เด็กแล้วให้เด็กคิดว่าจะวาดอะไรต่อเติมลงไป เด็กอาจจะวาด ตุ๊กตา นาฬิกา รถยนต์ หรืออีกมากมายตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน
3. คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นเสรี  เด็กได้เล่นตามความสนใจของตนเอง เช่นในมุมบล็อก เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆ ได้รู้ทิศทางตำแหน่งการวาง ถ้าเด็กเล่นเป็นกลุ่มจะได้เรื่องของภาษาและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
4. คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เช่นการไต่เชือก เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง การคาดคะเน ระยะทาง ความสูง ทิศทาง บน-ล่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
5. คณิตศาสตร์กับเกมการศึกษา  
   -เกมจับคู่
   -ภาพตัดต่อหรือ จิ๊กซอล
   -เกมเรียงลำดับ
   -เกมจัดหมวดหมู่
   -เกมโดมิโน
   -ล็อทโต (ศึกษารายละเอียดในภาพ)
6. คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อาจารย์จะอธิบายในสัปดาห์หน้า


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รับความรู้ที่หลากหลาย สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้มาประกอบการทำกิจกรรมหรือการสร้างผลงานให้เด็กทำได้ และสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการของเด็ก



ประเมินผล
ตนเอง  วันนี้มาเรียนแต่เช้า และตั้งใจฟังครูสอน ร่วมระดมความคิดตอบคำถามในห้องเรียน

เพื่อน  วันนี้เพื่อนมาเรียนกันน้อย แต่เพื่อนก็ต้องใจเรียนกันมาก 

อาจารย์ ถึงนักศึกษามาน้อยแต่อาจารย์ก็สอนเพราะถือว่ามาแล้วต้องเรียนให้คุ้มค่ากับเวลา 
อาจารย์สอนโดยยกตัวอย่างกิจกรรมและผลงานให้ดู และระดมความคิดในการนำเสนอแนวทางในการจัดกิจกรรม