ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ Mathematic Experiences Management for Early Childhood For Early Childhood

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่2


     
กิจกรรมวันนี้^^




อาจารย์นำตัวเลขมาให้นักศึกษาทายว่าสามรถแทนค่าเป็นอะไรได้บ้าง
            350  158  60  50  4915481
ตัวเลขแต่ละชุดอาจจะทายได้หลายค่า เช่น 350  จำนวนเงิน  เลขที่ห้อง
                                                                    60     อายุ  น้ำหนัก
เพราะเลขแต่ละตัวสามารถใช้แทนค่าได้หลายค่า
**แต่สำหรับการสอนเด็กปฐมวัย ไม่ควรใช้ตัวเลขหลายหลักและมีจำนวนที่มากเกินไป

คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การคำนวณการประมาณ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
เด็กจจะใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของเขาแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

          ความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะความสามารถที่เราอยากให้เด็กมี มีการเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ จะช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็กที่เล่นมาก อ่านมาก จะทำให้มีประสบการณ์มากและช่วยให้เด็กเข้าใจในความหมายสัญลักษณ์ต่างๆได้


แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ทำความเข้าใจกับหลักสูตร
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ได้ลงมือทำ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
6. ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง ครูควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อม
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5 คน
แล้วให้หัวข้อเพื่อไปศึกษา แล้ว สรุปเป็นความคิดรวบยอด เพื่อที่จะมาแชร์กับเพื่อน กลุ่มดิฉันได้เรื่อง"แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย"
อาจารย์ให้นำความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มของตัวเองไปแชร์กับกลุ่มเพื่อน ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มเติมจากกลุ่มอื่นๆ ดังนี้
เจ้าบ้านหลังที่1
-พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้น เช่น เด็กจะคลานก่อนเดินไม่ได้
- เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
- จะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
- พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน

เจ้าบ้านหลังที่2
- ประสบการณ์จะเป็นตัวปรับสมดุลระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้จาการเรียนแบบ "ทฤษฎีวอลดอร์ฟ" คือเด็กจะเลียนแบบบุคลที่ชอบเช่น พ่อแม่ ครู
- ทฤษฎีเกสตัสท์  มองส่วนรวมแล้วค่อยมองส่วนย่อย เพราะเด็กจะเรียนรู้จากส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

เจ้าบ้านหลังที่3
ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
- การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม คือ สามารถพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เป็นหลักสูตรที่เปิดโอการ คือ เด็กด้อยโอกาสหรือเด็กพิเศษสามารถเรียนได้
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก คือ สถานที่ต้องสะอาด ปลอดภัย มีสื่อและของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
- การบรูณาการการเรียนรู้ คือ 1 กิจกรรมสามารถเรียนรู้ได้หลากหลายทักษะ
- การประเมินและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก จะยึดวิธีการสังเกตเด็ก
- ความสัมพันธ์ระหว่างครูและครอบครัวของเด็ก ผู้ปกครองควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กกับครู

                         

                        การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อจะทำให่เด็กเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ ฝึกให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหา ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันเด็กเพราะจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดี


ประเมินผล
ประเมินตนเอง  มาเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจฟังเวลาเพื่อนให้ความรู้ของแต่ละกลุ่ม

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆต่างทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่ได้ และมาสรุปเป็นองค์ความรู้ให้ฟัง เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี คือ ให้แต่ละคนสรุปเป็นความคิดของตนเอง แล้วค่อยเอามาแชร์ในกลุ่มว่า มีเนื้อหาอันไหนที่ต้องเพิ่มเติมอีกบ้าง ชอบกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้มาก เพราะได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการระดมความคิดภายในกลุ่ม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น