สวัสดีปีใหม่ 2557
แฟ้มสะสมงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2556
วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556
โทรทัศน์ครู
สรุปโทรทัศน์ครู
การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยด้วยนิทาน
จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การที่จะทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ เราต้องปรับคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องง่าย โดยมีเทคนิคที่ดีในการนำคณิตศาสตร์มาสอนโดยผ่านนิทานได้เพราะธรรมชาติของเด็กชอบฟังนิทานอยู่แล้ว ก็จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์ที่ว่ายากกลายเป็นเรื่องง่ายได้
ถ้านำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กจะทำให้เด็กสนุกสนาน "ในโทรทัศน์ครูเขาได้ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิคการเล่านิทาน ให้เด็กได้เปรียบเทียบของสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน ได้นำนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว มาใช้ในการสอน มีลูกหมูตัวใหญ่ ตัวกลาง ตัวเล็ก โดยให้เด็กได้วิเคราะห์ว่าได้อะไรจากนิทานเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น ขนาดของลูกหมู คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น หนักกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า สูงกว่า "...........
บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปบทความ
สรุปบทความ
ชื่อบทความ สอนคณิตอย่างไรให้ลูกสนุก
โดย วรารัตน์ สิริจิตราภรณ์ โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)
จากที่ดิฉันได้อ่านบทความสรุปได้ว่า
คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยอาจจะดูยากแต่เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนานและไม่เครียดไปกับมัน คือ จัดประสบการณ์เสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย หรือบางครั้งเราอาจใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก ตัวต่อ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ จำนวนนับ รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงานของกลุ่มตนเองโดยวิธีวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูจะต้องให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนปรบมือให้กำลังใจ แค่นี้ก็ทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างสนุกแล้วค่ะ
งานวิจัย
สรุปงานวิจัย
ชื่อวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้ทำวิจัย
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
ความมุ่งหมายในการวิจัย
เพื่อเปรียนเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เพื่การรียนรู้
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1 การบอกตำแหน่ง
2.2 การจำแนก
2.3 การนับปากเปล่า 1-30
2.4 การรู้ค่าจำนวน 1-20
2.5 การเพิ่ม ลด ภายในจำนวน 1-10
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวม 5 ทักษะ อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น และมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่า ก่อนการทดลอง
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่5
อาจารย์ยกตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาศตร์ที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
เรื่องนาฬิกา
เรื่องปฏิทิน
กิจกรรมในวันนี้^^
ก่อนจะสอนเด็กทำอะไรยากๆควรให้เด็กได้เรียนรู้หรือได้เล่นกับสิ่งนั้นก่อน อาจารย์จึงยกตัวอย่างกิจกรรมปั้นดินน้ำมันมาให้เราทำกิจกรรมร่วมกัน
มาร้องเพลงกันเถอะ!!
ประเมินผล
ประเมินตนเอง วันนี้รู้สึกเพลียมาก แต่เมื่ออาจารย์ให้ทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ก็รู้สึกสนุกสนาน และตั้งใจทำกิจกรรมและร่วมตอบคำถามกับอาจารย์
ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์อย่างตั้งใจ และช่วยกันคิดวิธีปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆ
ประเมินอาจารย์ วันนี้อาจารย์มีการนำสื่อมาสาธิตให้นักศึกษาดู และให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์โดยสอดแทรกความรู้ลงในกิจกรรมที่จัดให้
วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่4
กิจกรรมในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์มา 1 ตัว แล้วให้บอกว่าสัตว์ที่เราวาดมีกี่ขา
ดิฉันวาด กระต่าย กระต่ายมี 4 ขา
ความรู้ดูนี่ !! กิจรรมนี้อาจารย์ต้องการสื่อให้นักศึกษารู้ว่า ก่อนที่จะบอกจำนวนอะไรได้จะต้องมีการนับ ถ้าเราจะสอนอะไรเด็กควรสอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก และสิ่งที่เป็นรูปธรรม จับต้อง หรือมองเห็นได้
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญของคณิตศาสตร์แต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
จะจัดกิจกรรมควรจัดให้สอดคล้องกับ........
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้เล่นและได้ลงมือปฏิบัติ
- กิจกรรมจะต้องเป็นรูปธรรม เด็กจับต้องได้ มองเห็น และได้กระทำ
อาจารย์สอนร้องเพลงเด็กค่ะ ^^
1) จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2) จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ... เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3) ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4) ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5) สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวนเรียกว่า เลขโดด
6) จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียนเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7) การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8) การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9) ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ... เป็นการบอกอันดับที่
10) การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11) การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
ผลงานของพวกเรา^^
คำแนะนำจากอาจารย์!! ควรใส่สัญลักษณ์แทนตัวเด็ก เช่น ป้ายชื่อหรือรูปเด็ก ไม่ควรใช้ตัวเด็กแทนสัญลักษณ์ เพราะเด็กเคลื่อนไหวได้ยาก และมองตัวเองได้ยาก ถ้าใช้สัญลักษณ์หรือสื่อต่างๆแทนจะทำให้เด็กมองเห็นสิ่งที่ครูต้องการสื่อได้ง่ายกว่า
ดูตรงนี้สิ !!!
ผลงานของเพื่อน^^
ผลงานของนางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า และนางสาวนิตยา ใยคง
= ชอบของเพื่อน ตรงที่สอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก ใช้ผลไม้เป็นสื่อกลางในการสอนคณิตศาสตร์ ถ้าสื่อชิ้นนี้ทำเป็นสื่อสามมิติ ที่เด็กสามรถมองเห็นได้ทุกด้าน จะเป็นสื่อที่ดีเลยทีเดียวค่ะ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน คิดกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์จัดให้
และร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนแต่ละคนมีความคิดที่ดี แปลกใหม่ เพื่อนดูตั้งใจมากเวลาอาจารย์ให้คิดกิจกรรมต่างๆที่จะมานำเสนอ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรานำเสนอตลอด เพื่อให้เราได้เข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง อาจารย์ฝึกให้นักศึกษาคิด และให้กล้าแสดงออก
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่3
วันนี้อาจารย์แนะนำการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสอนผ่านการประกอบอาหาร
เรื่อง" เค้ก"
สมารถให้เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องเค้กได้หลายอย่างเช่น
-ราคาของเค้ก สอนเรื่องเลขให้เด็กรู้ว่าเค้กปอนด์นี้ราคาเท่าไหร่ เช่น เค้กราคา 250 เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้เรื่องเลข
-ขนาดของเค้ก อาจมีหลายขนาด เช่น ใหญ่ กลาง เล็ก ให้เด็กได้เรียนรู้ว่าขนาดของเค้กจะสัมพันธ์กับราคา ปอนด์เล็กจะราคาถูกกว่าปอนด์ใหญ่
-สีของเค้ก เช่น สีเขียวรสใบเตย สีขาวรสวนิลา เด็กจะรับรู้สีของเค้กได้จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
-สอนในเรื่องการวัดเค้ก เครื่งมือที่ใช้สำหรับเด็กอาจเป็นเครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ เช่น การวัดขนาดของเค้กโดยใช้เชือก
-เทียนที่ปักเค้ก สามารถสอนเด็กเรื่องเลขได้ คือ เด็กอายุกี่ปี ใช้เทียนกี่แท่ง จะสัมพันธ์กับอายุของเด็ก เช่น วันที่14 สิงหาคม พ.ศ.2556 มีสมาชิกในห้องเกิดทั้งหมดกี่คน
-สอนเรื่องเศษส่วน เช่น มีเด็กทั้งหมด 10 คน จะต้องแบ่งเค้กแอกเป็น 10 ชิ้น เมื่อตักเค้กให้เพื่อน 1 ชิ้น จะเหลือเค้ก9ชิ้น จากเค้กทั้งหมด 10 ชิ้น เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับเศษส่วน
-สอนเรื่องรูปทรงต่างๆเช่น อาจจะใช้คำถามกับเด็กว่า เค้กของเราเป็นรูปทรงไหน จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกัยรูปทรงเรขาคณิต
***กิจกรรมนี้สื่่อให้เห็นว่าแค่เพียงเค้กก้อนเดียวเราสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง เราควรจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการให้กับเด็ก คือ 1 กิจกรรม สามารถเรียนรู้ได้หลายอย่าง
**อาจารย์ได้สอนวิธีทำสมุดเล่มเล็กง่ายๆที่เด็กสามารถทำได้ สอนเด็กให้พับ ให้เด็กได้นับว่ากระดาษที่เราพับมีกี่ช่อง ให้เด็กได้วาดภาพลงในสมุดที่เป็นชิ้นงานของตัวเอง เด็กจะภูมิใจที่มีชิ้นงานเป็นของตัวเอง ครูอาจจะบอกเด็กว่า ให้เด็กๆวาดอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เด็กจะวาดตามความคิดและความรู้เดิมของตัวเอง
กิจกรรมในวันนี้
---->กิจกรรมวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็กง่ายๆ แล้วอาจารย์ให้เขียน< สาระทางคณิตศาสตร์ประกอบอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน> โดยให้นักศึกษาเขียนจากรากฐานข้อมูลเดิมของนักศึกษาซึ่งอาจารย์จะไม่บอกว่าผิด และให้นักศึกษา ระดมความคิดช่วยกันในห้อง
ระดมความคิดในห้องเรียน^^
*** อาจารย์สอนวิธีการสอนเพลงเด็ก
เพลงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถนำมาประกอบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กได้
การตั้งเกณฑ์
-อาจารย์สอนเรื่องการตั้งเกณฑ์ และให้นักศึกษาทำกิกรรมคือ ให้แบ่งคนออกเป็นสามกลุ่ม คือคนที่มาถึงโรงเรียนก่อน แปดโมงเช้า คนที่มาแปดโมงเช้าพอดี และคนที่มาหลังแปดโมง โดยให้คนที่มาเวลาแปดโมงตรงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม **เพราะฉะนั้นถ้าจะแบ่งอะไรออกเป็นสองกลุ่ม จะต้องมีเกณฑ์ในการแบ่ง
***สรุปการตั้งเกณฑ์
เด็กได้รู้จักจำนวน การแยก การแบ่งกลุ่มจำนวน ทำให้เด็กได้เห็นคอนเส็ปของการแยกและการนับจำนวน
ขอบข่ายของหลักสูตรตณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้จับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู้กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆของสิ่งของที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
การนำไปประยุต์ใช้กับเด็ก
*** กิจกรรมนี้อาจารย์สื่อให้เห็นเรื่องการนำไปใช้กับเด็กคือ ให้เด็กบอกตามความรู้เดิมของเด็ก โดยไม่ต้องไปปิดกั้นเด็กเพราะครูจะได้รู้ทิศทางของเด็กว่าเด็กเข้าใจแบบไหนและเวลาสอนเด็กควรให้เด็กได้มีส่วนร่วม ยอมรับความคิดเห็นทุกความคิดเห็น และไม่บั่นทอนความคิดเห็นของเด็ก
ประเมินผล^^
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังครูสอน และตอบคำถามในสิ่งที่ครูถามได้
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมกันมาก ช่วยกันระดมความคิดในกลุ่มและในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี ใช้เทคนิคกระตุ้นความคิดนักศึกษา ให้นักศึกษาใช้ความคิดและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และไม่บั่นทอนความคิดเห็นของนักศึกษาทำให้นักศึกษากล้าที่จะตอบในครั้งต่อๆไป
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่2
กิจกรรมวันนี้^^
อาจารย์นำตัวเลขมาให้นักศึกษาทายว่าสามรถแทนค่าเป็นอะไรได้บ้าง
350 158 60 50 4915481
ตัวเลขแต่ละชุดอาจจะทายได้หลายค่า เช่น 350 จำนวนเงิน เลขที่ห้อง
60 อายุ น้ำหนัก
เพราะเลขแต่ละตัวสามารถใช้แทนค่าได้หลายค่า
**แต่สำหรับการสอนเด็กปฐมวัย ไม่ควรใช้ตัวเลขหลายหลักและมีจำนวนที่มากเกินไป
คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การคำนวณการประมาณ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
เด็กจจะใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของเขาแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะความสามารถที่เราอยากให้เด็กมี มีการเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ จะช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็กที่เล่นมาก อ่านมาก จะทำให้มีประสบการณ์มากและช่วยให้เด็กเข้าใจในความหมายสัญลักษณ์ต่างๆได้
แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ทำความเข้าใจกับหลักสูตร
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ได้ลงมือทำ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
6. ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง ครูควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อม
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์
หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5 คน
แล้วให้หัวข้อเพื่อไปศึกษา แล้ว สรุปเป็นความคิดรวบยอด เพื่อที่จะมาแชร์กับเพื่อน กลุ่มดิฉันได้เรื่อง"แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย"
อาจารย์ให้นำความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มของตัวเองไปแชร์กับกลุ่มเพื่อน ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มเติมจากกลุ่มอื่นๆ ดังนี้
เจ้าบ้านหลังที่1
-พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้น เช่น เด็กจะคลานก่อนเดินไม่ได้
- เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
- จะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
- พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
เจ้าบ้านหลังที่2
- ประสบการณ์จะเป็นตัวปรับสมดุลระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้จาการเรียนแบบ "ทฤษฎีวอลดอร์ฟ" คือเด็กจะเลียนแบบบุคลที่ชอบเช่น พ่อแม่ ครู
- ทฤษฎีเกสตัสท์ มองส่วนรวมแล้วค่อยมองส่วนย่อย เพราะเด็กจะเรียนรู้จากส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
เจ้าบ้านหลังที่3
ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
- การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม คือ สามารถพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เป็นหลักสูตรที่เปิดโอการ คือ เด็กด้อยโอกาสหรือเด็กพิเศษสามารถเรียนได้
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก คือ สถานที่ต้องสะอาด ปลอดภัย มีสื่อและของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
- การบรูณาการการเรียนรู้ คือ 1 กิจกรรมสามารถเรียนรู้ได้หลากหลายทักษะ
- การประเมินและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก จะยึดวิธีการสังเกตเด็ก
- ความสัมพันธ์ระหว่างครูและครอบครัวของเด็ก ผู้ปกครองควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กกับครู
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อจะทำให่เด็กเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ ฝึกให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหา ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันเด็กเพราะจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
ประเมินผล
ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจฟังเวลาเพื่อนให้ความรู้ของแต่ละกลุ่ม
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆต่างทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่ได้ และมาสรุปเป็นองค์ความรู้ให้ฟัง เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี คือ ให้แต่ละคนสรุปเป็นความคิดของตนเอง แล้วค่อยเอามาแชร์ในกลุ่มว่า มีเนื้อหาอันไหนที่ต้องเพิ่มเติมอีกบ้าง ชอบกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้มาก เพราะได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการระดมความคิดภายในกลุ่ม
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่1
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิธีการสร้างบล็อกให้นักศึกษาได้ทราบ
องค์ประกอบของบล็อก
-หัวข้อ คำอธิบายรายวิชา
-ปฏิทิน นาฬิกา
-วิจัย บทความ แหล่งสนับสนุน
-สื่อคณิตศาสตร์ เช่นแบบฝึกหัดสำหรับเด็กปฐมวัย
-สถิติการเยี่ยมชม
-ลิงค์อาจารย์และเพื่อนให้ครบ
-ความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น นิทานและเพลงทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ถ้าพูดถึงเด็กปฐมวัยจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการ **พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และบ่องบอกได้ว่าในช่วงอายุนั้นๆเด็กจะทำอะไรได้บ้าง
พัฒนาการมี4ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
การจัดประสบการณ์
- แนวทางการจัดประสบการณ์
- รูปแบบ
- สื่อ
- การประเมินผล
- ทฤษฎีการสอน
- จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย กิจกรรม
คณิตศาสตร์
- การนับเลข
-เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
- รูปทรงเรขาคณิต
- การเรียงลำดับ
- การคำนวณ
- เวลา
- ระยะทาง
- การวัด
การนำไปประยุกต์ใช้
ในการไปสอนเด็กเราสามารถจักประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กได้ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กมิใช่เพียงการสอนบวก-ลบเลขแต่เราสามารถจัดกิจกรรมที่สอดแทรกการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ เช่น การสอนเด็กนับเลขโดยใช้เพลง เด็กก็จะเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพราะหัวใจสำคัญของเด็กปฐมวัยคือ การเล่น และการจัดกิจกรรม จะสามารถพัฒนาเด็กให้ครบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ๋-จิตใจ สังคม และสติปัญญา จะทำให้เด็กมีความพร้อม และสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และร่วมตอบคำถามกับอาจารย์
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆต่างช่วยกันระดมความคิดเพื่อจะตอบคำถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีเทคนิคในการสอนคือมีการใช้คำถามเพื่อที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด เข้าสอนตรงเวลาค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)